สุเทพ อดีตแกนนำ กปปส. เดินไปทางยังศาลฎีกาฯ เพื่อสู้ คดีทุจริตโรงพัก กว่า 396 แห่ง และ แฟลตำตรวจอีก 163 หลัง เสียหายจำนวนมาก ยืนยันสู้คดีด้วยข้อเท็จจริง นาย สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตแกนนำกปปส. พร้อมทีมทนายความ เดินทางไปศาลฏีกาฯ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. นัดส่งตัวฟ้องศาล กรณีทุจริตสร้างสถานีตำรวจ 396 แห่งทั่วประเทศ และแฟลตตำรวจ 163 หลัง รวมมูลค่าความเสียหายจำนวนมาก
โดยนาย สุเทพ กล่าวว่า ยืนยันไม่ได้กระทำการใดที่ผิดจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ทั้งเรื่องสั่งการและการพิจารณาต่างๆ อยู่บนพื้นฐานของข้อกฎหมายระเบียบปฏิบัติ และในฐานะที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) ได้ตัดสินใจในแง่ของนโยบาย การปฎิบัติตามอำนาจหน้าที่ และไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง โดยอนุมัติตามที่มีการเสนอในราคาต่ำกว่าราคากลางกว่า 500 ล้านบาท ซึ่งเจ้าหน้าที่แจ้งว่าผ่านการประมูลชอบตามกฎหมายแล้ว จึงได้ลงนาม ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชน ส่วนการสร้างสถานีตำรวจไม่เสร็จ เป็นเรื่องของการบริหารจัดการของ ตร. “ยืนยันขอต่อสู้คดีด้วยข้อเท็จจริง คราวนี้ถือเป็นโอกาสดีที่จะพิสูจน์ข้อกล่าวหาการทุจริตโครงการก่อสร้างสถานีตำรวจในศาลฎีกาฯ หลัง ป.ป.ช.สอบสวนคดีมานานนับ 10 ปี ส่งผลต่อชื่อเสียงทั้งที่ได้ต่อสู้เรื่องต้านการทุจริตมาตลอด แต่มาถูกกล่าวหาการทุจริตเสียเอง” นายสุเทพ กล่าว
พร้อมระบุว่า คดีนี้ อัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากมีข้อไม่สมบูรณ์ จึงเชื่อว่าไม่น่าจะดำเนินคดีกับตน แต่วันนี้ ป.ป.ช.ยื่นฟ้องเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลก ต้องติดตามว่าพยานหลักฐานที่ ป.ป.ช. จะนำมาแสดงต่อศาล เมื่อเปรียบเทียบกับพยานหลักฐานของตัวเองจะเป็นอย่างไร ตนมั่นใจกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย และไม่ขอวิจารณ์การทำงานและกระบวนการไต่สวนของ ป.ป.ช. เพราะถือว่าเป็นคู่ต่อสู้ในคดีแล้ว ด้านนายสวัสดิ์ เจริญผล ทนายความ เปิดเผยว่า วันนี้นายสุเทพมารายงานตัวที่ศาล โดยได้เตรียมหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดินมายื่นประกันตัว ส่วนศาลจะตีราคาประกันเท่าไรขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล
เว็บ ราชกิจจาฯ เผยแพร่ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ล้มล้างสถาบัน กรณีชุมนุม 10 ส.ค. 63
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ฉบับเต็มกรณีชุมนุม 10 ส.ค. 63 ที่ศาลตัดสินให้เป็นพฤติกรรมเข้าข่ายล้มล้างสถาบัน เว็บไซด์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 19/2564 เรื่องพิจารณาที่ 19/2563 ของวันที่ 10 เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2564 ระหว่าง นายณฐพร โตประยูร ผู้ร้อง และผู้ถูกร้อง
ซึ่งประกอบไปด้วย นายอานนท์ นำภา ผู้ถูกร้องที่ 1 นายภาณุพงศ์ จาดนอก ผู้ถูกร้องที่ 2 นางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ผู้ถูกร้องที่ 3 นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ ผู้ถูกร้องที่ 4 นางสาวจุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ผู้ถูกร้องที่ 5 นางสาวสิริพัชระ จึงธีรพานิช ผู้ถูกร้องที่ 6 นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ถูกร้องที่ 7 และนางสาวอาทิตยา พรพรม ผู้ถูกร้องที่ 8 นาย ณฐพร โตประยูร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้อง สรุปได้ดังนี้
ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า คณะบุคคลประกอบด้วยกลุ่มกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสหภาพนักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย กลุ่มแนวร่วมนิสิตมหาสารคามเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มเสรีเทยพลัส ได้ใช้สถานที่ต่างๆ ในการจัดเวทีชุมนุม
อันเป็นการกระทำความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มาตรา 116 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องละเมิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพรักของปวงชนชาวไทย เป็นการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และก่อให้เกิดความแปลกแยก ปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน โดยเฉพาะผู้ถูกร้องทั้ง 8 คน ที่ปราศรัยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ในหลายเวที รวม 6 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2563 ต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2563
โดยผู้ร้องยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 เพื่อขอให้อัยการสูงสุดร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ผู้ร้องเห็นว่าอัยการสูงสุดมิได้ดำเนินการใดๆ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคสาม ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยและมีคำสั่งให้คณะบุคคลดังกล่าวเลิกการกระทำดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49
ขณะที่ผู้ถูกร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาและเอกสารประกอบสรุปได้ว่า คำร้องและข้อกล่าวหาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 49 คลุมเครือไม่ชัดแจ้งเนื่องจากไม่ปรากฏสภาพแห่งข้อหาที่ชัดเจนว่าผู้ถูกร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ใช้สิทธิหรือเสรีภาพล้มล้างการปกครองอย่างไร ข้อเท็จจริงในคำร้องเป็นข้อกล่าวหาที่เลื่อนลอย ไม่บ่งชี้ว่าผู้ถูกร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ใช้สิทธิหรือเสรีภาพ หรือกระทำประการใดเป็นการล้มล้างการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่อาจเข้าใจถึงสภาพแห่งการกระทำที่เป็นข้อกล่าวหา พร้อมยืนยันว่าข้อเรียกร้องทางการเมือง 3 ประการ และข้อเสนอ 10 ข้อ ในการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่เป็นไปเพื่อส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง